ระเบียบและหลักเกณฑ์ (การศึกษา)
1. การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางถึงออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์
ศึกษากฎ ระเบียบ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว็ปไซต์ สนร.
2. การรายงานตัวเมื่อเดินทางถึงออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์
นักเรียนจะต้องรีบรายงานตัวต่อ สนร. ทางอีเมล oeacanberra@ocsc.go.th ภายใน 1 วันที่เดินทางถึง โดยส่งเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
- แบบรายงานตัวไปศึกษาในต่างประเทศที่ได้รับจากสำนักงาน ก.พ.
- สำเนาการรับเงินค่าใช้จ่ายก่อนการเดินทางที่ทาง ก.พ.ได้ให้มาก่อนการเดินทาง
- แจ้งข้อมูลช่องทางการติดต่อ ได้แก่ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และ LineID
- ข้อมูลบัญชีธนาคาร ดังนี
- ชื่อธนาคาร – Financial Institution (ศึกษา ณ ออสเตรเลีย ขอให้เปิดบัญชีของ Commonwealth Bank ศึกษา ณ นิวซีแลนด์ ขอให้เปิดบัญชีของ ANZ เนื่องจาก สนร.ออสเตรเลีย ใช้ธนาคารดังกล่าว ในการโอนและทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทั้ง 2 ธนาคารนี้)
- รหัสธนาคาร – BSB Number/ABA Number/Bank Code/BIC)
- หมายเลขบัญชีธนาคาร – (Account Number/IBAN)
- ที่อยู่ธนาคาร – Financial Institution Address + City + State)
- ลงชื่อในแบบฟอร์มการยินยอมให้ตรวจผลการศึกษา (Consent to the Disclosure) ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม Release of Academic Records.PDF
3. การรายงานผลการศึกษา
นักเรียนจะต้องนำส่งแบบรายงานผลการศึกษาให้ สนร. ทราบอย่างสม่ำเสมอ และ สนร.จะส่งแบบรายงานผลการศึกษาดังกล่าวไปยังสำนักงาน ก.พ. เพื่อแจ้งให้ หน่วยงานต้นเจ้าของทุน และผู้เกี่ยวข้องทราบต่อไปการรายงานการศึกษาอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ สนร. และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนได้ทราบความก้าวหน้าในการศึกษา ซึ่งหากนักเรียนเกิดปัญหาในการศึกษาก็จะสามารถแก้ปัญหาและหาทางช่วยเหลือนักเรียนได้ทันท่วงที ทั้งนี้ สนร. อาจพิจารณาชะลอ/ไม่ส่งค่าใช้จ่ายประจำเดือน หากนักเรียนไม่ส่งรายงานผล/ความก้าวหน้าทางการศึกษาตามกำหนดเวลา
ตารางการรายงานผลการศึกษาสำหรับ นักเรียนทุนปริญญาเอก
ระดับการศึกษา | กำหนดการส่งรายงานการศึกษา | เอกสารประกอบ |
---|---|---|
ปริญญาเอก | ภายใน 31 https://www.ocsc.go.th/wp-content/uploads/2024/08/ป.เอก-แบบรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์N.pdfธันวาคม |
ตารางการรายงานผลการศึกษาสำหรับ นักเรียนทุนปริญญาโท
ระดับการศึกษา | กำหนดการส่งรายงานการศึกษา | เอกสารประกอบ |
---|---|---|
ปริญญาโท |
|
ตารางการรายงานผลการศึกษาสำหรับ นักเรียนทุนปริญญาตรี
ระดับการศึกษา | กำหนดการส่งรายงานการศึกษา | เอกสารประกอบ |
---|---|---|
ปริญญาตรี |
|
|
4. การลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน/ฤดูหนาว/ภาคการศึกษาอื่น นอกเหนือภาคปกติ
นักเรียนต้องกรอกแบบขอศึกษาภาคฤดูร้อน/ฤดูหนาว/ภาคการศึกษาอื่น นอกเหนือภาคปกติ แจ้งให้ สนร. ทราบล่วงหน้าก่อนลงทะเบียนศึกษาอย่างน้อย 60 วันทำการก่อนถึงวันลงทะเบียนศึกษา ทั้งนี้ วิชาที่นักเรียนขอลงทะเบียนศึกษาจะต้องเป็นวิชาที่อยู่ในหลักสูตร สามารถนับหน่วยกิตเข้าในโปรแกรมการศึกษาได้ และช่วยให้สำเร็จการศึกษาได้เร็วขึ้น สำหรับวิชาที่เป็น Audit วิชาภาษาอังกฤษ หรือวิชาที่จัดอยู่ในประเภท Recreation Subject ระเบียบไม่อนุญาตให้ลงศึกษา ยกเว้นแต่เป็นการบังคับของหลักสูตร ซึ่งนักเรียนจะต้องส่งหนังสือยืนยันการบังคับให้ศึกษาจากหัวหน้าภาค/ผู้จัดการหลักสูตร มาพร้อมแบบขอศึกษาภาคฤดูร้อน/ฤดูหนาว/ภาคการศึกษาอื่น นอกเหนือภาคปกติ ด้วย
เอกสารประกอบการพิจารณา
1.แบบคำขอลงทะเบียนศึกษาภาคฤดูร้อน
- ดาวน์โหลดแบบขออนุมัติศึกษาภาคภาคฤดูร้อน
2.รายละเอียดของวิชา และแสดงหลักฐานรับรองการโอนหน่วยกิต
5. การไปร่วมประชุมทางวิชาการ (Conference/Study Trip)
นักเรียนทุนรัฐบาลที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก และมีความประสงค์จะไปร่วมประชุมทางวิชาการทั้งในและนอกประเทศ จะต้องยื่นเอกสารต่อ สนร. อย่างน้อย 60 วันทำการก่อนการเดินทาง โดย สนร.ฯ จะพิจารณาจาก
- หากการไปประชุมทางวิชาการเป็นข้อบังคับของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ปริญญาเอก สามารถเบิกได้ดังนี้ ค่าเดินทางไป-กลับโดยประหยัด ค่าลงทะเบียน ค่าที่พัก และเบิกได้เพียง 1 ครั้ง ตลอดหลักสูตร
- หากไม่ได้เป็นข้อบังคับของหลักสูตร แต่นักเรียนมีความจำเป็น หรือจะเป็นประโยชน์ สามารถเบิกจ่ายได้ 1 ครั้ง โดยราชการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าลงทะเบียน ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นักเรียนทุนรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบจ่ายเอง
สำหรับ นทร. ที่ได้รับทุน ตั้งแต่ปี 2565
|
โดยเอกสารที่ต้องยื่นให้ สนร. เพื่อประกอบการพิจารณา มีดังนี้
- แบบฟอร์มคำขออนุมัติไปร่วมประชุมวิชาการ PDF // DOC
- สำเนารายละเอียดการประชุมวิชาการซึ่งระบุสถานที่ระยะเวลาการประชุม และค่าใช้จ่าย
- หนังสือรับรองอย่างเป็นทางการ ออกโดยสถานศึกษา (Department) ที่ระบุว่าการประชุมวิชาการดังกล่าวเป็นข้อบังคับของหลักสูตร (Degree Requirement) หรือ แสดงเหตุผลความจำเป็นในการสำเร็จการศึกษา หนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา และหนังสือตอบรับเข้าร่วมการประชุม
- แบบคำร้องขอเบิกค่าใช้จ่ายกรณีการขอเบิกจ่าย ให้นักเรียนรวบรวมใบสำคัญทางการเงิน (Itinerary และ ใบเสร็จต่างๆ) ประกอบคำขอการเบิกจ่ายด้วย โดย สนร. จะดำเนินการเบิกจ่ายภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม นักเรียนไม่สามารถเบิกเงินล่วงหน้าได้ ดังนั้น โปรดตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดให้ชัดเจน และวางแผนค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม ทั้งนี้ หากได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย/แหล่งทุนอื่น ขอให้แจ้ง สนร. ด้วย โดยหลักฐานการเบิกจ่ายต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
- หลักฐานประกอบการเบิกจ่าย แบบขอเบิกค่าใช้จ่าย PDF / DOC
รายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายในการไปร่วมประชุม ตัวอย่าง // ดาวน์โหลด ประมาณการค่าใช้จ่ายในการไปร่วมประชุม PDF // DOC
6. การกลับเยี่ยมบ้านชั่วคราว
นักเรียนทุนรัฐบาลที่ประสงค์จะเดินทางกลับเยี่ยมบ้านชั่วคราวที่ประเทศไทย ต้องแจ้ง สนร. ให้ทราบก่อนวันเดินทางกลับไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งจะพิจารณาจาก
- เป็นการเดินทางที่ไม่กระทบต่อการศึกษา ไม่ทำให้เสียผลการเรียน เสียเวลาศึกษาเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเพิ่มขึ้น และไม่ขัดต่อคำสั่งหรือประกาศของสำนักงาน ก.พ. / สนร.
- นักเรียนรับผิดชอบค่าเดินทางไป-กลับเอง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการเดินทาง
โดยจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้มายัง สนร.
กรณีเดินทางฯ ในระหว่างปิดภาคการศึกษา
- แบบฟอร์มขอกลับประเทศไทยชั่วคราว DOC / PDF
- Academic Calendar ณ สถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ที่แสดงช่วงเวลาปิดภาคเรียน เพื่อยืนยันว่าเดินทางในช่วงปิดเทอมตามจริง
- หนังสืออนุญาตจากสถานศึกษา และหนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรีกษา (สำหรับ ป.เอก)
หมายเหตุ
- ใน 1 ปีการศึกษา (ตั้งแต่ 1 มีนาคม – 28 กุมภาพันธ์) ช่วงที่เดินทางกลับเยี่ยมบ้านชั่วคราวนักเรียนฯ มีสิทธิ์ได้รับค่าใช้จ่ายประจำเดือนในอัตราประเทศที่ศึกษาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ส่วนที่เกิน จะไม่ได้รับค่าใช้จ่ายประจำเดือน
ยกตัวอย่างเช่น นทร.เอ เรียนอยู่รัฐ NSW ขอกลับเพื่อเยี่ยมครอบครัว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 – 1 กุมภาพันธ์ 2560 รวม 93 วัน ดังนั้น 3 วันที่เกิน (วันที่ 30, 31 มกราคม และ 1 กุมภาพันธ์ จะถูกตัดเงิน)
เมื่อเดินทางถึงประเทศไทยนักเรียนจะต้องรายงานตัว ณ ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้ สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานเจ้าของทุนในโอกาสแรกที่ทำได้ (อาจดำเนินการติดต่อพี่เลี้ยงทางอีเมล์หรือโทรศัพท์)
เมื่อนักเรียนเดินทางกลับมาถึงออสเตรเลียแล้ว ให้นำส่งแบบแจ้งรายงานตัวกลับมาศึกษาต่อ ให้ สนร. ทราบโดยด่วนด้วย แบบแจ้งรายงานตัวกลับมาศึกษาต่อ DOC / PDF
ตามระเบียบของAustralian Government :Department of Immigration and Border Protection and Thailand Government :กำหนดว่า
4.1 หนังสือเดินทางต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือนขณะเดินทางเข้า/ออกประเทศ หากนักเรียนทุนท่านใดประสงค์ที่จะทำหนังสือเดินทางให้ติดต่อ Thai E-Passport: Royal Thai Embassy ดาวน์โหลด ฟอร์ม request-for-e-passport-form.pdf
4.2 Student Visa ต้องไม่หมดอายุขณะเดินทางเข้า/ออกประเทศ
หากนทร.ท่านใดเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ไม่ว่าจะเดินทางกลับไทยเพื่อเยี่ยมครอบครัว หรือทัศนศึกษา ณ ประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศที่ตนศึกษาโดยไม่ได้แจ้ง สนร.ออสเตรเลีย และไม่ได้รับอนุญาต ขอให้รีบดำเนินการขออนุญาตมาที่สนร.โดยด่วน ในโอกาสแรกที่กระทำได้
หมายเหตุ : กรณีที่นักเรียนทุนรัฐบาลขอกลับไปเยี่ยมบ้านชั่วคราวในประเทศไทย และ/หรือขอไปทัศนศึกษานอกประเทศที่ศึกษา รวมกันเกิน 90 วัน ต่อปีปฏิทินหรือปีการศึกษา (1 มีนาคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป) จะไม่ได้ รับค่าใช้จ่ายประจําเดือนตามจํานวนวันที่อยู่นอกประเทศที่ศึกษาเกิน 90 วัน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวจะเริ่มใช้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป
7. การขอไปทัศนศึกษานอกประเทศที่ศึกษา
นักเรียนทุนรัฐบาลที่ประสงค์จะขอไปทัศนศึกษานอกประเทศที่ศึกษา ขอให้นักเรียนทุนรัฐบาลส่งคําขอมายัง สนร. ก่อนล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 20 วัน หากเป็นกรณีเร่งด่วน ขอให้ติดต่อประสานกับเจ้าหน้าที่ สนร. ที่รับผิดชอบดูแลนักเรียนทุนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้รับอนุมัติก่อนวันที่เดินทางออกนอกประเทศที่ศึกษา
ซึ่งจะพิจารณาจาก
- เป็นการเดินทางที่ไม่กระทบต่อการศึกษา ไม่ทำให้เสียผลการเรียน เสียเวลาศึกษาเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเพิ่มขึ้น และไม่ขัดต่อคำสั่งหรือประกาศของสำนักงาน ก.พ. / สนร.
- นักเรียนรับผิดชอบค่าเดินทางไป-กลับเอง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการเดินทาง
หมายเหตุ : กรณีที่นักเรียนทุนรัฐบาลขอกลับไปเยี่ยมบ้านชั่วคราวในประเทศไทย และ/หรือขอไปทัศนศึกษานอกประเทศที่ศึกษา รวมกันเกิน 90 วัน ต่อปีปฏิทินหรือปีการศึกษา (1 มีนาคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป) จะไม่ได้ รับค่าใช้จ่ายประจําเดือนตามจํานวนวันที่อยู่นอกประเทศที่ศึกษาเกิน 90 วัน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวจะเริ่มใช้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป
8. การกลับไปเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์ในประเทศไทย
นักเรียนทุนรัฐบาลที่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อเก็บข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ ต้องแจ้ง สนร. ให้ทราบก่อนวันเดินทางกลับไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้
- แบบแจ้งขอกลับไปเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์ในประเทศไทย DOC // PDF
- รายละเอียดโครงการเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์ และแผนการเก็บข้อมูล
- หนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
- นทร. ต้องศึกษาในระดับดังกล่าวในต่างประเทศแล้วเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
หมายเหตุ
- สำหรับค่าใช้จ่ายกรณีกลับไปเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์ในประเทศไทยนั้น นักเรียนจะได้รับค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายตามอัตราค่าใช้จ่ายของประเทศที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่เกิน180 วัน ส่วนที่เกิน180 วัน จะได้รับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ โดยไม่ได้รับค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอีก
- นักเรียนทุนรัฐบาลที่ได้รับอนุมัติให้กลับไปเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์เป็นช่วง ๆ ให้นับเวลาทุกช่วงรวมกันแล้วได้รับค่าใช้จ่ายตามข้อ 1
- กรณีนักเรียนทุนรัฐบาลได้รับอนุมัติให้กลับมาเยี่ยมบ้าน แล้วต่อมาได้รับอนุมัติให้อยู่เก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์ต่อเนื่องกัน ให้นับเวลาทั้งสองประเภทรวมกัน ต่อเนื่องกัน และได้รับค่าใช้จ่ายทำนองเดียวกันตามข้อ 1
- ให้นักเรียนทุนรัฐบาลรายงานผลความคืบหน้าในการเก็บรวบรวมข้อมูลทำวิทยา นิพนธ์ทุก ๆ 3 เดือน ให้ สนร. ทราบ และเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินเดือนในงวดต่อไป (ในกรณีที่ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินทุนอยู่) ในระหว่างที่ยังเก็บข้อมูลทำวิทยานิพนธ์อยู่
- เมื่อนักเรียนเสร็จสิ้นการเก็บข้อมูลฯ และได้เดินทางกลับมาถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แล้ว ให้นำส่งแบบแจ้งรายงานตัวกลับมาศึกษาต่อ DOC / PDF ให้ สนร. ทราบโดยด่วนด้วย
9. การเปลี่ยนแปลงแนวการศึกษา/สาขาวิชาที่จะศึกษา
กรณีมีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแนวการศึกษา หรือวิชาที่ศึกษา นทร.
ต้องมีคำขอล่วงหน้า 60 วัน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไปยัง สนร./สอท. เพื่อประสานกับแหล่งทุน/ต้นสังกัด
เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงเปลี่ยนได้ ทั้งนี้ นทร. จะมีระยะเวลาศึกษาที่เหลือตามกรอบระยะเวลาการศึกษาที่กำหนดไว้เดิม
โดยยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
10. การย้ายสถานศึกษา
กรณีที่นักเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องขอย้ายสถานศึกษา ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากการประสบปัญหาในการศึกษา หรือปัญหาอื่น นักเรียนจะต้องส่งคำร้อง พร้อมเอกสารรับรองประกอบ(ตามกรณี) ไปยังสนร. และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะดำเนินการย้ายได้
สนร.มีหลักเกณฑ์พิจารณา ดังนี้
- เป็นผู้ที่ ก.พ. หรือหน่วยงานต้นสังกัดมิได้กำหนดสถานศึกษาสำหรับผู้นั้นไว้ เป็นกรณีพิเศษให้เข้าศึกษา ณ สถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ
- มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องย้ายสถานศึกษา ยกเว้นกรณีสอบตก /ผลการศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์
- การย้ายสถานศึกษาไม่ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวการศึกษาให้ผิดไปจากแนวที่ ก.พ. ได้อนุมัติ หรือกำหนดไว้
- สถานศึกษาที่ย้ายไปใหม่ ต้องมีมาตรฐานด้านการศึกษาอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าเดิม
- การย้ายสถานศึกษา นทร. จะมีระยะเวลาศึกษาที่เหลือตามกรอบระยะเวลาการศึกษาที่
กำหนดไว้เดิม
โดยนักเรียนจะต้องยื่นเอกสารให้กับ สนร. ล่วงหน้า 60 วัน ดังนี้
- รายงานผลการศึกษาครั้งหลังสุด ออกโดยสถานศึกษา (Official Transcript)
- หนังสือตอบรับจากสถานศึกษา พร้อมระบุภาคการศึกษาที่ตอบรับ
- หนังสือรับรองประกอบ เช่น หนังสือรับรองแพทย์ กรณีเจ็บป่วย หรือหนังสือรับรองผลสอบ กรณีสอบไม่ผ่าน เป็นต้น
กรณีที่ได้รับอนุมัติให้ย้ายสถานศึกษา
- นักเรียนจะไม่ได้รับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการย้ายสถานศึกษาแต่อย่างใด
- นักเรียนจะได้รับค่าใช้จ่ายในอัตราของเมืองที่ย้ายไปศึกษานับตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนที่สถานศึกษาแห่งใหม่เปิดภาค
- กรอบระยะเวลารับทุนรัฐบาลจะคงเดิม ไม่มีการปรับเพิ่มระยะเวลารับทุนเกินกรอบกำหนดเดิมแต่อย่างใด คือจะนับต่อเนื่องจากเวลาที่ได้ศึกษาไปแล้ว ณ สถานศึกษาเดิม
- นักเรียนต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้น (หากมี)
11. การพักการศึกษาชั่วคราว
การพักการศึกษาชั่วคราว
นทร. สามารถยื่นคำขอในการขอพักการศึกษาชั่วคราวต่อ สนร. ให้เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ โดยให้ส่งคำขอล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันในกรณีดังต่อไปนี้
- พักการศึกษาเนื่องจากป่วยและแพทย์ ก.พ. ให้ความเห็นว่าควรให้พักการศึกษาชั่วคราว ซึ่งรวมถึงกรณีการลาคลอดบุตรด้วย และหากนักเรียนทุนพักการศึกษาชั่วคราวเนื่องจากป่วย เมื่อจะเดินทางกลับไปศึกษาต่อต้องมีใบรับรองแพทย์รับรองว่าสามารถกลับไปศึกษาได้ สำหรับกรณีพักการศึกษาเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตหรือพักการศึกษาเนื่องจากป่วย ต้องมีใบรับรองแพทย์ของคณะกรรมการแพทย์ ก.พ. รับรองว่าสามารถกลับไปศึกษาได้
- พักการศึกษาชั่วคราวเนื่องจากสมัครสถานศึกษาในภาคถัดไปไม่ทันหรือ ไม่มีสถานศึกษาตอบรับเข้าศึกษาต่อเนื่อง หรือรอสถานศึกษาเปิดภาคการศึกษาในระดับถัดไป
- พักการศึกษาเนื่องจากประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเรื่องวีซ่า ปัญหาเรื่องการเรียน ฯลฯ
- พักการศึกษาเนื่องจากมีการย้ายประเทศทำให้เทอมการศึกษาของประเทศที่จะไปศึกษาไม่ตรงกัน
โดยให้นักเรียนยื่นเอกสารให้ สนร. ดังนี้
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการรับทุนอนุมัติให้พักการศึกษาชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี / 1 ปีการศึกษาแล้วแต่กรณี
12. การขอสอบแก้ตัว/การลงทะเบียนเรียนซ้ำ เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด
ในระหว่างการศึกษา นักเรียนต้องประเมินความพร้อมและความสามารถของตนเองในการเรียนให้ผ่านในรายวิชาต่าง ๆ ที่กำหนดตามหลักสูตร หากพบว่าไม่มีความพร้อม หรือมีความเสี่ยงที่จะสอบไม่ผ่าน ให้รีบแจ้ง สนร. และเพิกถอนรายวิชานั้น ๆ ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ถอนรายวิชาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ หากไม่สามารถเพิกถอนรายวิชาได้ทัน และทราบผลว่าสอบไม่ผ่าน ทำให้ต้องลงทะเบียนเรียนเพิ่ม/เรียนซ้ำ นักเรียนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง
13. การขยายเวลาการศึกษา
นักเรียนต้องศึกษากรอบระยะเวลาทุนรัฐบาลที่ได้รับเพื่อมาศึกษาในต่างประเทศ และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ การขยายเวลาศึกษาต่อ สามารถกระทำได้โดยยื่นเรื่องขอขยายเวลาศึกษาต่อพร้อมด้วยคำชี้แจง และเหตุความจำเป็นที่ขอขยายเวลาศึกษา โดยส่งไปยัง สนร. ไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนครบกำหนดเวลาสิ้นสุดการรับทุน โดย สำนักงาน ก.พ./ สนร. อาจพิจารณาเอกสารที่ใช้ประกอบในการขออนุมัติขยายเวลาศึกษาต่อ มีดังนี้
- คำร้องขออนุมัติขยายเวลาศึกษา การต่อระยะเวลาทุน [ภาษาไทย] DOC หรือ PDF
- Student’s Progress Report and Supporting Letter to Accompany for an Extension Form Extension1.1 PDF
- Progress Report: รายงานผลการศึกษา Thai Government Scholarship Post Graduate Student’s Progress Report DOC หรือ PDF
- แนบ CoE ของหลักสูตรปัจจุบัน
- หนังสือรับรองของอาจารย์ที่ปรึกษา (กรณีนักเรียนทุนปริญญาเอก)
หมายเหตุ: หนังสือรับรองของอาจารย์ที่ปรึกษา เกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องอยู่ศึกษาต่อไป และสถานภาพการเป็นนักศึกษา ซึ่งสามารถขอได้จาก Student Office/ Graduate Office/ Admission Office/ Research Office ซึ่งเนื้อความในจดหมายควรระบุระยะเวลาที่ นทร. เริ่มลงทะเบียนและระยะเวลาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
สำนักงาน ก.พ. กำหนดระยะเวลาการศึกษาด้วยทุนรัฐบาล ณ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ ไว้เบื้องต้น ดังนี้
ปริญญาตรี | 3 ปี (ไม่รวมการเรียนภาษาอังกฤษ และ Foundation Year |
ปริญญาตรี-โท | 4 ปี |
ปริญญาโท | 2 ปี |
ปริญญาโท-เอก | 6 ปี* |
ปริญญาเอก | 4 ปี* |
(ทั้งนี้ ขอให้ยึดกรอบระยะเวลาศึกษาจากหนังสือส่งตัวจากสำนักงาน ก.พ. เป็นหลัก)
14. การฝึกอบรม/ ฝึกงาน/ ดูงาน ระหว่างกำลังศึกษา
15. การฝึกอบรม/ ฝึกงาน/ ดูงาน ภายหลังสำเร็จการศึกษา
กรณีที่นักเรียนมีความประสงค์จะขออยู่ฝึกอบรม-ดูงานภายหลังสำเร็จการศึกษา ก่อนเดินทางกลับมาปฏิบัติราชการนั้น จะต้องยื่นแบบขอลา/ขยาย การฝึกอบรม/ดูงานต่อ พร้อมหนังสือตอบรับการฝึกอบรม-ดูงาน ต่อ สนร. ล่วงหน้าก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 60 วัน โดย สนร. จะพิจารณาอนุมัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
- เป็น นทร.ที่สำเร็จ/ เสร็จสิ้นการศึกษาภายในกรอบระยะเวลาศึกษาด้วยทุนรัฐบาลเท่านั้น
- นทร. มีคำขอเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องยื่นเรื่องต่อ สนร.ฯ / สอท. ก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 60 วัน
- มีสถานที่ฝึกอบรม/ฝึกงาน/ดูงาน ตอบรับต่อเนื่องหลังจากสำเร็จ/ เสร็จสิ้นการศึกษา โดยระบุเวลาชัดเจน และมีโครงการฝึกอบรม/ ฝึกงาน/ดูงาน จากสถานที่ฝึกอบรม/ฝึกงาน/ ดูงาน ประกอบการพิจารณา
- แหล่งทุน/ส่วนราชการต้นสังกัดสนับสนุนให้ฝึกอบรม/ฝึกงาน/ดูงาน โดยพิจารณาเห็นว่ามีความเชื่อมโยงกับแผนความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Plan) ของ นทร.
- จะต้องเป็นการฝึกอบรม/ฝึกงาน/ดูงาน ในประเทศที่ศึกษา
- ระยะเวลาฝึกอบรม/ฝึกงาน/ดูงาน ไม่เกิน 6 เดือน
- สำหรับ นทร. ที่ได้รับทุนตั้งแต่ปี 2565 จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้วยทุนรัฐบาล ยกเว้น กรณีที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย /ค่าตอบแทนแล้ว ก็อนุมัติด้วยทุนส่วนตัว
นทร. ต้องประสานแหล่งทุน/หน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง และให้ส่วนราชการต้นสังกัด/แหล่งทุน มีหนังสืออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประกอบการยื่นคำขอต่อ สนร.
16. การกลับประเทศไทยถาวรหลังสำเร็จ/เสร็จสิ้นการศึกษา
- นักเรียนทุนรัฐบาลที่สำเร็จ/เสร็จสิ้นการศึกษาในต่างประเทศ จะต้องเดินทางกลับประเทศไทยในโอกาสแรก โดยไม่ต้องอยู่รอรับปริญญา ทั้งนี้ ต้องเดินทางกลับภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัยและดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549 ดังนี้
- สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝีกอบรม เกิน 1 ปี : ภายในระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน (รวมวันรายงานตัวกับหน่วยงานต้นสังกัด)
- สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม เกิน 6 เดือน : ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 วัน (รวมวันรายงานตัวกับหน่วยงานต้นสังกัด)
- สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ไม่เกิน 6 เดือน : ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 วัน (รวมวันรายงานตัวกับหน่วยงานต้นสังกัด)
- สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปดูงาน : ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 วัน (รวมวันรายงานตัวกับหน่วยงานต้นสังกัด)
ทั้งนี้ เริ่มนับจากวันที่สอบ/ส่งงานวิชาสุดท้าย ตามที่หลักสูตรกำหนด (ป.ตรี/ป.โท) หรือวันที่ส่งวิทยานิพนธ์ (ป.เอก๗ โดย นักเรียนทุนดำเนินการ ดังนี้
|
|
|
|
|
17. การแสดงความจำนงเลือกกระทรวง/กรม ที่จะปฏิบัติราชการชดใช้ทุน
การแสดงความจำนงเลือกกระทรวง/กรม ที่จะปฏิบัติราชการชดใช้ทุน
สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลที่จัดไว้เป็นส่วนกลาง ซึ่งยังไม่มีสังกัดส่วนราชการ เช่น นักเรียนทุน U-โดดเด่น ขอให้นักเรียนแจ้งความจำนงเลือกหน่วยงานที่ต้องการจะไปปฏิบัติราชการชดใช้ทุน ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา ล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน โดยดำเนินการ ดังนี้
- กรอกข้อมูลลงในหนังสือแสดงความจำนงเลือกกระทรวง/กรม ที่จะปฏิบัติราชการชดใช้ทุน ของนักเรียนทุนรัฐบาลที่จัดไว้เป็นส่วนกลาง (นักเรียนทุนกลาง) PDF
- แนบเอกสารประกอบการพิจารณา ได้แก่
- หลักฐานการศึกษาปัจจุบัน เช่น ใบปริญญาบัตร Transcript หนังสือรับรองของสถาบันการศึกษา หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ (ถ้ามี)
- ประวัติส่วนบุคคล (Resume) ระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ฝึกอบรม/ดูงาน ความสามารถพิเศษ ฯลฯ
- เอกสารอื่นๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณารับเข้าปฏิบัติงาน (ถ้ามี)
ทั้งนี้ หากมีเอกสารการศึกษาที่ไม่เป็นภาษาอังกฤษ ขอให้ทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ด้วย
