Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

Search
Close this search box.

ระเบียบและหลักเกณฑ์ (การเบิกจ่าย)

นักเรียนทุนฯ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย ดังนี้

นักเรียนทุนฯ มีสิทธิเบิกตามที่จ่ายจริง โดยมีข้อกำหนด ดังนี้

  1. ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเดินทางโดยเครื่องบิน หรือพาหนะสาธารณะ (เช่น รถไฟ รถประจำทาง) ในชั้นประหยัด
  2. ต้องเป็นค่าเดินทางจากเมืองที่สถานศึกษาเดิมตั้งอยู่ ไปเมืองที่สถานศึกษาใหม่ตั้งอยู่
  3. ต้องแนบใบเสร็จรับเงิน (Passenger Receipt และ Itinerary Invoice) สำหรับค่าตั๋วเครื่องบิน และกากตั๋วรถโดยสารสาธารณะ สำหรับรถไฟและรถประจำทาง มาประกอบคำขอเบิกค่าเดินทางด้วย

ข้อควรจำ

    • นักเรียนทุนฯ ซึ่งย้ายสถานศึกษาเพื่อศึกษาในระดับเดิม จะไม่มีสิทธิเบิกค่าเดินทาง เช่น เรียนปริญญาตรีปีแรกในสถานศึกษา ก. แล้วย้ายไปศึกษาระดับเดิม (ปริญญาตรี) ในสถานศึกษา ข. จะเบิกไม่ได้
    • ผู้เดินทางโดยรถเช่าหรือรถส่วนตัว ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่ารถหรือค่าน้ำมัน
    • ผู้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่เมืองไทย แล้วเดินทางจากเมืองไทยไปสถานศึกษาใหม่โดยตรง ไม่มีสิทธิค่าเดินทางเพื่อย้ายไปศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
    • นักเรียนทุนฯ ต้องจ่ายค่าเดินทางระหว่างสนามบิน (สถานีรถไฟหรือสถานีรถประจำทาง) กับที่พักเอง
    • การเดินทางต้องเป็นเส้นทางตรงจากเมืองที่สถานศึกษาเดิมตั้งอยู่ ไปเมืองที่สถานศึกษาใหม่ตั้งอยู่ ต้องไม่มีการออกนอกเส้นทาง หรือพักค้างคืนนอกเส้นทาง
    • นักเรียนฯ ไม่มีสิทธิ์เบิกค่าเดินทาง ถ้าสถานศึกษาเดิมและ สถานศึกษาใหม่ ตั้งอยู่ในเมืองเดียวกัน
    • ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตไม่สามารถเบิกได้  
  1. ค่าตั๋วเครื่องบินเที่ยวกลับ
    • นทร. ออสเตรเลีย ขอให้ติดต่อ สนร. เพื่อวางแผนการเดินทาง โดย สนร. จะจองตั๋วเครื่องบินให้ ยกเว้น กรณีที่มีผู้ติดตาม นทร. จะต้องจองตั๋วเอง
    • นทร. นิวซีแลนด์ จะต้องจองตั๋วเองและส่งเอกสารประกอบการขอเบิก
    • การบินไทยเบิกได้เต็มจำนวน/สายการบินอื่นเบิกได้ 75%
  2. ค่าการเดินทางระหว่างเมือง เช่น ค่าพาหนะรถโดยสารสาธารณะ, ค่าตั๋วเครื่องบินภายในประเทศ
  3. ค่าขนย้ายสิ่งของกลับประเทศไทย 450 USD

 

ทั้งนี้ การพิจารณาจะอยู่บนหลักการของความประหยัดและเหมาะสม ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายดังนี้

  • กรณีนักเรียนทดรองจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินไปก่อน ให้ยื่นแบบคำร้องขอเบิกจ่ายมายัง สนร. ได้โดยต้องมีเอกสารประกอบการเบิกจ่ายให้ครบถ้วน ดังต่อไปนี้
    • ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง หากชำระออนไลน์ โปรดส่งสำเนา Statement บัตรเครดิตประกอบการเบิกจ่ายเพิ่มเติม
    • รายละเอียดเส้นทางการบิน (Itinerary)/E-Ticket
    • เอกสารเปรียบเทียบราคาค่าตั๋วโดยสารของสายการบินอื่น อย่างน้อย 1 สายการบิน ที่ราคาน้ำหนักกระเป๋า 30 กิโลกรัม (สามารถ print จากเว็บไซต์ประกอบการเบิกจ่ายได้ หากไม่มีเอกสารเปรียบเทียบ สนร. จะเบิกจ่ายให้ตามข้อมูลเปรียบเทียบของ สนร.)
  • กรณีนักเรียนฯ จองตั๋วเดินทาง ผ่านบริษัทนายหน้า สนร. จะจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินให้บริษัทนายหน้าโดยตรง โดยนักเรียนต้องนำส่งเอกสารดังนี้ให้ สนร.
    • แบบแจ้งกำหนดวันเดินทางกลับประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา
    • Invoice ค่าตั๋วเครื่องบิน และรายละเอียดการเดินทาง
    • เอกสารเปรียบเทียบราคาค่าตั๋วเครื่องบินของสายการบินอื่น อย่างน้อย 1 สายการบิน หรือ 1 บริษัททัวร์

ข้อควรจำ

  • ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตไม่สามารถเบิกได้
  • ค่าตั๋วที่นักเรียนมีสิทธิเบิกจ่าย ต้องเป็นเส้นทางจากเมืองที่ท่านศึกษาถึงกรุงเทพฯ หากท่านเปลี่ยนเส้นทาง จะต้องติดต่อสอบถาม สนร. ก่อน พร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็น โดยต้องเปรียบเทียบราคากับการเดินทางจากเมืองที่ศึกษา หากมีส่วนต่างนักเรียนต้องรับผิดชอบเอง
  • นักเรียนต้องจองตั๋วล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วัน
  • ผู้ที่เดินทางกลับเยี่ยมบ้านชั่วคราวหรือพักการศึกษาชั่วคราว ไม่มีสิทธิ์เบิกค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ
  • ผู้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเก็บข้อมูลประกอบการทำวิทยานิพนธ์ ไม่มีสิทธิเบิกค่าเดินทาง

ในบางกรณีอาจจะมีเงินเกินสิทธิ์ที่ถูกหัก เช่น นทร. กลับก่อนจำนวนวันที่ สนร. จ่ายค่า MA หรือมีค่า OSHC เกินจำนวน ซึ่ง ปกติ สนร. จะติดต่อขอคืนเงินกับ มหาลัยโดยตรง เพื่อขอ refund ยกเว้นว่ามหาลัยมีนโยบายให้ นทร. ต้องติดต่อ มหาลัยเพื่อขอคืนเงินเอง

    • หากการไปประชุมทางวิชาการเป็นข้อบังคับของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ปริญญาเอก เบิกได้ 1 ครั้งสามารถเบิกได้ดังนี้
      • ค่าเดินทางไป-กลับ โดยประหยัด (ก่อน-หลัง 1 วันที่เข้าร่วมประชุม) ค่าลงทะเบียน ค่าที่พักโดยประหยัด (ไม่เกิน 200 AUD)
      • ค่ารถโดยสารสาธารณะ ค่าวีซ่า และค่าประกันการเดินทาง
    • หากไม่ได้เป็นข้อบังคับของหลักสูตร แต่นักเรียนมีความจำเป็น หรือจะเป็นประโยชน์ สามารถเบิกจ่ายได้ 1 ครั้ง โดยราชการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าลงทะเบียน ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นักเรียนทุนรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบจ่ายเอง
สำหรับ นทร. ที่ได้รับทุน ตั้งแต่ปี 2565
  1. หากการไปประชุมทางวิชาการเป็นข้อบังคับของหลักสูตรที่กำหนดไว้ สามารถเบิกได้ดังนี้ ค่าเดินทางไป-กลับโดยประหยัด ค่าลงทะเบียน ค่าที่พัก
    • ปริญญาโท อนุมัติให้เข้าร่วมได้ 1 ครั้ง
    • ปริญญาเอก อนุมัติให้เข้าร่วมได้ 2 ครั้ง
  1. หากไม่ได้เป็นข้อบังคับของหลักสูตร แต่นักเรียนมีความจำเป็น หรือจะเป็นประโยชน์ ทั้ง ป.โท และป.เอก สามารถเบิกจ่ายได้ 1 ครั้ง โดยราชการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าลงทะเบียน ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นักเรียนทุนรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบจ่ายเอง
แบบคำร้องขอเบิกค่าใช้จ่าย :  ให้นักเรียนรวบรวมใบสำคัญทางการเงิน (Itinerary และ ใบเสร็จต่างๆ) ประกอบคำขอการเบิกจ่าย โดย สนร. จะพิจารณาจากความเหมาะสมและประหยัด และจะดำเนินการเบิกจ่ายภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม นักเรียนไม่สามารถเบิกเงินล่วงหน้าได้ ดังนั้น โปรดตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดให้ชัดเจน และวางแผนค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม ทั้งนี้ หากได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย/แหล่งทุนอื่น ขอให้แจ้ง สนร. ด้วย โดยหลักฐานการเบิกจ่ายต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน (ดาวน์โหลด ฟอร์ม แบบขอเบิกค่าใช้จ่าย PDF / DOC) ข้อควรจำ
  • ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตไม่สามารถเบิกได้
  • ค่าที่พัก ระบุรายละเอียด วันที่เข้าพักและจำนวนผู้เข้าพัก ได้ 1 คนเท่านั้น (หากมี 2 คน จะเบิกได้ ครึ่งราคา)
  • ค่าเดินทางระหว่างเมือง หากเดินทางโดยเครื่องบินถูกกว่ารถไฟ สามารถเบิกได้ โดยนักเรียนหาข้อมูลเปรียบเทียบอัตราค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินที่มีอัตราถูกกว่าค่ารถไฟจริง
  • อัตราแลกเปลี่ยน หากไม่มีหลักฐานแสดง สนร.จะคิดจากอัตราก่อนวันเดินทาง 1 วัน
  • หากเดินทางไปทัศนศึกษาก่อน-หลัง การประชุม สนร. จะเบิกค่าใช้จ่ายจากเวลาที่เริ่มประชุม-สิ้นสุดการประชุมเท่านั้น
  • ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ออกใบเสร็จหรือวันที่สำรองจ่าย

นักเรียนที่กำลังศึกษาในต่างประเทศที่ยังมีระยะเวลาศึกษาอยู่ด้วยทุนรัฐบาล สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ดังนี้

  • จ่ายค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอายุ 5 ปี (หนังสือเดินทางต้องเป็นประเภทเดียวกับที่ขอวีซ่านักเรียนเท่านั้น )
  • ค่าธรรมเนียมในการต่ออายุวีซ่า 
  • ค่าที่พัก
  • ค่าพาหนะ
  • ค่าตรวจร่างกายประกอบการทำวีซ่า
  • ค่าไปรษณีย์ในการจัดส่งเล่มไปยังที่พัก ณ เมืองที่ศึกษา 

ตามที่จ่ายจริงโดยประหยัด ดังนี้

รายการค่าใช้จ่าย

รายละเอียด

หลักฐาน/เอกสารที่ต้องแสดง

1.    ค่าที่พัก

– เบิกค่าที่พักได้ 1 คืน ในราคาประหยัด  เฉพาะกรณีไม่สามารถเดินทางไป-กลับในวันเดียวกันได้

– ค่าที่พักโดยประหยัด ต้องไม่รวมอาหารเช้า (ไม่เกิน $ 200 AUD / คืน)

ใบเสร็จ/ tax invoice

2.    การเดินทางจากเมืองที่ศึกษา

– เดินทางโดยเครื่องบิน สามารถเบิกค่าตั๋วโดยสารชั้นประหยัด (ไป-กลับ) โดยต้องออกจากเมือง/รัฐที่ศึกษาไปยังเมืองที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่ หรือสถานเอกอัครราชทูต ทั้งนี้ สามารถเดินทางล่วงหน้าได้ไม่เกิน 1 วัน และเดินทางกลับในวันเดียวกัน (หากทำได้) หรือเดินทางกลับวันถัดไป โดยเร็ว

กำหนดการเดินทาง

ใบเสร็จค่าตั๋วโดยสาร

เอกสารเปรียบเทียบราคา

 

– เดินทางโดยรถสาธารณะประเภทอื่น (รถไฟ รถประจำทาง) สามารถเบิกค่าตั๋วตามที่จ่ายจริง โดยประหยัด (ไป-กลับ) ซึ่งต้องออกจากเมือง/รัฐที่ศึกษาไปยังเมืองที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่ หรือสถานเอกอัครราชทูต ทั้งนี้ สามารถเดินทางล่วงหน้าได้ไม่เกิน 1 วัน และเดินทางกลับในวันเดียวกัน (หากทำได้) หรือเดินทางกลับวันถัดไป โดยเร็ว

กำหนดการเดินทาง

ใบเสร็จค่าตั๋วโดยสาร

เอกสารเปรียบเทียบราคา

3.    การเดินทางภายในเมืองที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่ หรือสถานเอกอัครราชทูต

– ค่าใช้จ่ายเดินทางภายในเมืองซิดนีย์ และแคนเบอร์รา จะเบิกได้เฉพาะบริการรถโดยสาร สาธารณะเท่านั้น (ค่าโดยสารรถยนต์ส่วนบุคคลสาธารณะเบิกไม่ได้)
– สำหรับ นครซิดนีย์ ค่าบัตรโดยสาร Opal (รถประจำทาง และ รถไฟ)

– สำหรับ กรุงแคนเบอร์รา ค่ารถประจำทางตามจ่ายจริง 
– สำหรับผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินจากเมืองที่ศึกษาจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากสนามบินด้วย สามารถเบิกได้ตามที่จ่ายจริง โดยประหยัด 

ใบเสร็จ

ค่าทำฟัน (ประกันสุขภาพไม่คลอบคลุม) สามารถเบิกจ่ายได้ดังนี้

  • ค่าถอนฟัน อุดฟัน รักษารากฟัน ค่าทำความสะอาดฟัน (เฉพาะการรักษา) จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง
  • ค่าทำความสะอาดฟัน นอกเหนือการรักษา เบิกจ่ายได้ครึ่งหนึ่ง ปีละ 1 ครั้ง
  • ค่าครอบฟันและฟันเทียม (ไม่สามารถเบิกจ่ายได้)
  • การทำฟันในประเทศไทยเบิกจ่ายได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง เฉพาะที่เข้าทำฟันในสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น

ค่ารักษาพยาบาลแยกออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. กรณีนักเรียนเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือเป็นคนไข้นอกให้นักเรียนขอ Claim ตามสิทธิกับ บริษัทประกันสุขภาพเท่านั้น ส่วนที่ Claim ไม่ได้ นักเรียนต้องรับผิดชอบเอง
  2. นักเรียนจะขอเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้เฉพาะกรณีเป็นคนไข้ใน และ เฉพาะส่วนที่เบิกจากบริษัทประกันไม่ได้เท่านั้น โดยพิจารณาเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หากเข้ารับการ รักษาพยาบาลในประเทศไทย จะเบิกจ่ายได้เฉพาะการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ของรัฐเท่านั้น

ทั้งนี้ นักเรียนจะต้องยื่นรายการค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลทั้งหมด ประกอบกับใบรายละเอียด การจ่ายค่ารักษาพยาบาลของบริษัทประกันประกอบการขอเบิก ไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ  เพื่อพิจารณาเบิกจ่ายตามส่วนค่ารักษาพยาบาลที่เบิกจากบริษัทประกันไม่ได้

ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content