Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

Search
Close this search box.

โครงการฝึกอบรมข้าราชการอาเซียนเพื่อการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (ASEAN Civil Service Development Program for HR Innovations) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

การเข้าชม

49

ครั้ง
วันที่เผยแพร่

13 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนดำเนินการโครงการฝึกอบรมข้าราชการอาเซียนเพื่อการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (ASEAN Civil Service Development Program for HR Innovations) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยนายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ เลขาธิการ ก.พ. ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และพิธีปิด
โครงการฝึกอบรมข้าราชการอาเซียนเพื่อการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ดำเนินการระหว่างวันที่ 19 – 23 กุมภาพันธ์ 2567 รวมทั้งสิ้น 5 วัน โดยดำเนินการฝึกอบรมแบบออนไลน์ และมีข้าราชการจากกลุ่มประเทศสามาชิกอาเซียนบวกสามเข้าร่วม จำนวน 28 คน โดยในปีนี้ สพข. ภายใต้กรอบการเรียนรู้หลัก “Reimagine HR in the Era of Disruption ” ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อประเด็นการเรียนรู้ 5 หัวข้อ ได้แก่
1. Reimagine the Role of HR
2. Reimagine Recruitment and Selection
3. Reimagine Talent Management
4. Reimagine Learning and Development
5. HR Technology

ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา โดยสรุปประเด็นสำคัญจากการการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้ดังนี้
1. Disruption ส่งผลให้องค์กรต้องการทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้และทักษะใหม่ ๆ โดยเฉพาะทักษะดิจิทัลในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อการอยู่รอดขององค์กร
2. HR ภาครัฐควรปรับบทบาทในการทำงาน โดยจะต้องยกระดับการทำงานโดยปฏิบัติงานบนฐานของการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล ตลอดจนเน้นการทำงานโดยเน้นการวิจัยในการกำหนดนโยบาย เช่น การวิเคราะห์อัตรากำลัง การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเกษียณอายุ
3. HR ควรมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมทุกคนในองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรให้เข้มแข็ง
4. HR ควรนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อยกระดับการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น การสรรหาและเลือกสรร
5. การพัฒนาทรัพยากรบุคคลจะต้องทันสมัย เพิ่มช่องทางการเรียนรู้และพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละแผนกในองค์กร รวมทั้งส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดในองค์กร เพราะความรู้และทักษะในโลกยุคใหม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

แชร์หน้านี้:

Skip to content